top of page
หน้าปก-01.png

ขับถ่ายแบบไหน? เรียกว่า “ท้องผูก”

ลักษณะของการขับถ่ายอุจจาระที่บอกได้ว่ามีเกณฑ์ผิดปกติ คือ เมื่อจำนวนครั้งในการขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
ร่วมกับลักษณะของอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ก้อนมีขนาดเล็กลง หรือก้อนแข็งขึ้น เวลาถ่ายต้องออกแรงเบ่งให้หลุด
และใช้เวลานานกว่าจะขับถ่ายเสร็จ เมื่อปล่อยให้เกิดภาวะท้องผูกเรื้อรังไปนานๆ หากคุณมีภาวะนี้อาจนำไปสู่ความเสี่ยง
ต่อการเป็นริดสีดวงทวาร หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ไม่ปวดอย่าฝืน เพราะถือเป็นพฤติกรรมที่อันตราย

หลายคนยังมีความเข้าใจแบบผิดๆ ว่า.. “คนเราต้องขับถ่ายอุจจาระทุกวัน” เมื่อไม่รู้สึกว่าต้องการขับถ่ายก็จะพยายาม
ออกแรงเบ่ง ซึ่งพฤติกรรมการขับถ่ายแบบนี้เป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดริดสีดวงทวารได้
ดังนั้น หากปรับพฤติกรรมเรื่องการกิน การออกกำลังกายแล้ว ยังไม่รู้สึกว่าต้องการขับถ่ายในทุกวันก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
ถ้าจำนวนครั้งของการถ่ายในแต่ละสัปดาห์ยังเหมือนเดิม

ผลไม้และถั่ว
นักกำหนดอาหาร

ปรับพฤติกรรม...ป้องกันอาการท้องผูก

  • ขับถ่ายให้เป็นเวลา โดยเวลาที่เหมาะสม
    ในการขับถ่ายคือหลังตื่นนอน
    ในตอนเช้า
    เพราะช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากถ่าย 

  • ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 1.5-2 ลิตรต่อวัน
    โดยแบ่งดื่มในแต่ละช่วงเวลา ครั้งละ 1-2 แก้ว

    แต่ไม่ควรดื่มน้ำปริมาณมากๆ แบบรวดเดียว

  • ออกกำลังกายเป็นประจำการออกกำลังกาย
    และเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ

เลือกทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง

สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังมานาน นอกจากผักและผลไม้
ที่มีเส้นใยอาหารที่เราทานกันอยู่ทุกวันแล้ว อาจจะเสริมด้วยอาหารบางประเภทที่มีฤทธิ์ช่วยระบาย หรือช่วยให้การขับถ่ายเราดีขึ้น
อย่างเห็นได้ชัด อย่าง ลูกพรุน เป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์มากเป็นพิเศษ และเป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ ร่างกายจะสามารถดูดซึมได้เร็ว
และให้ผลได้เร็ว และยังมีอาหารที่มีฤทธิ์ช่วยระบายอื่นๆ อีกเช่น มะเดื่อฝรั่ง กีวี่ มะขามแขก เม็ดแมงลัก ใบขี้เหล็ก มะขามเปียก
กล้วยน้ำว้า เป็นต้น

ผลไม้เขตร้อนกองรวมกัน
หน้าปกลำไส้-03.png

ท้องผูก ถ่ายยาก ลำไส้แปรปรวน โพรไบโอติกส์ช่วยได้

โพรไบโอติกส์ เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ เพื่อช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้
ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีจำนวนลดลง ทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น และยังช่วยแก้ปัญหา ท้องผูก ได้ด้วย

ปกติแล้วร่างกายคนเรามีจุลินทรีย์ที่ดีและไม่ดี แต่ถ้าจุลินทรีย์ในลำไส้มีความสมดุลจะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพดีขึ้นทั้งใน
ด้านอารมณ์การนอน การย่อยอาหาร และการลดน้ำหนัก แต่พฤติกรรมของเราบางอย่างกลับทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล
เช่น กินอาหารที่ไม่ดี เครียด พักผ่อนน้อย อายุที่เพิ่มขึ้น โรคต่างๆ การใช้ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาคุมกำเนิด หรือการบำบัดโรค
ด้วยวิธีฉายรังสี การกินอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์มีชีวิตในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยทำหน้าที่ปรับสมดุลของจุลินทรีย์
ในทางเดินอาหารได้ และการเสริมโพรไบโอติกส์ตามที่ร่างกายขาด (Personalized Probiotics) ก็จะยิ่งช่วยแก้ปัญหาสุขภาพได้ดีมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของ โพรไบโอติกส์

  • ป้องกันอาการท้องผูกและท้องเสีย

  • ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้

  • ช่วยให้อาการหลังหายจากโควิดเบาลง

  • ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น

โปรแกรมปรับสมดุลลำไส้แก้ปัญหาอาการท้องผูก

ศูนย์ W9 Wellness Center อาคาร A ชั้น 3 โรงพยาบาลพระรามเก้า

ปรับลำไส้-02.png
ปรับลำไส้-01.png
bottom of page