top of page
เครียดและซึมเศร้า จากภาวะลำไส้แปรปรวน
หลายคนอาจเคยได้ยินคำนี้บ่อย “ เครียดลงกระเพาะ ” หรือที่เรียกว่า โรคลำไส้แปรปรวน เมื่อเราเครียดมาก โดยไม่ผ่อน
คลาย เครียดอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดอาการ ปวดท้อง หรือ อึดอัดท้อง ระบบการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป ท้องผูก หรือท้องเสีย แต่หากรุนแรง อาจมีอาการคล้ายโรคร้าย เช่น อุจจาระมีเลือดปน มีไข้ น้ำหนักลด หรือมีอาการ
ที่ต้องทำให้ตื่นกลางดึก เป็นต้น
โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ กลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือ 18-35 ปี เกิดจากกลุ่มช่วงอายุดังกล่าว จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างเช่น เข้ามหาวิทยาลัย เข้าทำงาน แต่งงาน หรือมีลูก จึงเกิดความเครียดและกระตุ้นให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน และมักจะพบในผู้หญิงมากกว่าที่จะมีอารมณ์แปรปรวน
ความเครียดและซึมเศร้า เกี่ยวกับลำไส้อย่างไร
เมื่อพูดถึงโรคซึมเศร้าเรามักนึกถึงสารเซโรโทนิน (serotonin) ที่ได้รับการขนานนามว่า “สารสร้างความสุข” เซโรโทนินเกี่ยวข้องกับการปรับอารมณ์ถ้าร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินน้อยเกินไป หรือทำหน้าที่ไม่ดี ล้วนก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ “เซโรโทนินผลิตโดยลำไส้เป็นหลัก”
เพราะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และมีผลต่อสมองการปรับอารมณ์ การนอน ความอยากอาหาร การเรียนรู้ และการจดจำ
ถ้าเซโรโทนินในกระแสเลือดต่ำเกินไปจะรู้สึกซึมเศร้า และปวดท้อง
เมื่อคุณกินยาแก้ซึมเศร้า เช่น ยาโพรแซก (Prozac) จะทำให้อารมณ์
ดีขึ้นและสบายท้อง ทั้งนี้เพราะโพรแซกทำให้เซโรโทนินในเลือดเข้มข้นขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า ยาแก้ซึมเศร้าไม่ได้มีผลต่อสมอง แต่มีผลต่อลำไส้
ลำไส้กับสมองสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ในทำนองเดียวกันลำไส้กับจิตใจก็มีผลต่อกันและกัน การรักษาโรคซึมเศร้า
อารมณ์แปรปรวน และโรคจิตเภทอื่นๆ จึงเริ่มจากการดูแลลำไส้ของผู้ป่วยให้มีสุขภาพแข็งแรง
วิธีรักษา "อาการเครียดเและซึมเศร้า" จากภาวะลำไส้แปรปรวน
สำหรับวิธีการรักษาลำไส้แปรปรวนโดยการควบคุมความเครียด เป็นปัจจัยหนึ่งที่แพทย์กำชับเสมอว่าให้ผู้ป่วยคอยระวัง พยายามอย่าเครียดจนเกินไป ในขณะเดียวกันก็ใช้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทานอาหาร และการเสริม Probiotic
เพื่อฟื้นฟูสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ควบคู่ในการรักษา
เพราะความเครียดในระยะยาวอาจส่งผลให้เป็นโรคลำไส้แปรปรวน โดยนอกจากจะทำให้เกิดการบีบตัวของลำไส้แล้ว
ยังมีงานวิจัยชี้ว่าความเครียดทำให้เกิดการระบาดของจุลินทรีย์ในลำไส้ผิดถิ่น เช่น จุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่หลุดเข้าไป
อยู่ในลำไส้เล็ก และไประบาดในบริเวณที่ไม่ใช่ถิ่นอาศัย ซึ่งการระบาดของจุลินทรีย์ผิดถิ่นนี้ถูกตั้งข้อสันนิษฐานว่า
อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคลำไส้แปรปรวน เช่นกัน
bottom of page