คุณกำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้อยู่ไหม?
อาการวัยทอง
อารมณ์แปรปรวน
นอนไม่หลับ
นอนกลับยาก
ลดความอ้วน
ควบคุมน้ำหนัก
ความเครียด
โรคซึมเศร้า
หากคุณเผชิญกับเหล่าปัญหาสุขภาพเหล่านี้บ่อยครั้ง ฮอร์โมนปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
ระบบฮอร์โมนมีหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานในทุกระบบของร่างกาย ฮอร์โมนในตัวเรานั้นมีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิต
อย่างยิ่ง หลายสิ่งหลายอย่างในกิจกรรมที่เราทำในแต่ละวัน ล้วนแล้วแต่มีฮอร์โมนเป็นส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
เลือกสาขาที่ให้บริการ
สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า (ชั้น 3 อาคาร A)
สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์ (ชั้น G ตรงข้าม Lawson)
เหตุผลที่ควรตรวจสมดุลฮอร์โมนเพศ
ฮอร์โมนเพศ นอกจากจะควบคุมระบบสืบพันธุ์แล้ว ยังส่งผลโดยตรงต่อการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ระดับพลังงาน
ความคิดสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจ การจัดการความเครียด รวมถึงคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งสามารถส่งกระทบผลต่อ
ความสัมพันธ์ ประสิทธิภาพการทำงาน และทุกๆกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งรู้ได้จากการตรวจวัดระดับฮอร์โมนหากฮอร์โมน
เสียสมดุลเรื้อรังเป็นระยะเวลานานอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย ซึมเศร้า หรือนอนไม่หลับได้ สมดุลฮอร์โมน
จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
ความไม่สมดุลของฮอร์โมนส่งผลกระทบอย่างไร?
ฮอร์โมน คือต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้ส่งสารภายใน
ร่างกายเพื่อให้ร่างกายตอบสนองได้ดี สามารถทำงานได้เป็นปกติ
ซึ่งปัจจัยทางพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม อาหาร ไลฟ์สไตล์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนที่เป็นตัวช่วยในการส่งมอบไปยังส่วนต่างๆ ร่างกายเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสัมพันธ์ทั้งด้านพัฒนาการ จิตใจ อารมณ์ความรู้สึก การซ่อมแซมความเสื่อมทางสุขภาพ การชะลอวัยชะลอการเจ็บป่วย การขนส่งการผลิตสารตั้งต้น การทำงานระบบย่อยอาหาร และระบบเผาผลาญของร่างกาย
หากฮอร์โมนผิดปกติหรือไม่สมดุล อาจกระทบการทำงานหลายๆ ส่วนก็จะกระทบไปด้วยเช่นกัน ในระยะสั้นอาจ
ไม่สามารถบ่งชี้สาเหตุที่ชัดเจน เนื่องจากยังไม่ก่อโรค แต่หากปล่อยไว้นานร่างกายอ่อนเพลียหรืออายุที่มากขึ้น
ประสิทธิภาพน้อยลง ฮอร์โมนจึงเป็นต้นตอสำคัญในการดูแลและแก้ไขปรับสมดุลสุขภาพเป็นอันดับแรก
อาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก
นอนน้อย นอนดึกเป็นพฤติกรรมเสพติดของใครหลายคน
อาจเป็นเพราะกำลังดูหนังเพลินๆ เล่นเกมส์ติดพัน หรือต้อง
อ่านหนังสือสอบ สังคมของคนนอนดึก จึงไม่ได้มีสมาชิกแค่
คนวัยทำงานเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มนักเรียน และนักศึกษา รวมอยู่
ในนั้นเป็นจำนวนมาก! โดยที่ไม่มีใครคาดคิดเลยว่าการที่เรา
ชอบนอนดึกบ่อยๆ กำลังส่งผลต่อ ระบบฮอร์โมนในร่างกาย
เสี่ยงเป็นโรคนอนไม่หลับได้
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ถือเป็นโรคความผิดปกติด้านการนอน หรือเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากการนอน
ที่ไม่ได้คุณภาพซึ่งหากย้อนกลับไปราวหกสิบปีก่อน เชื่อว่าหลายคนคงยกให้ “ความเครียด” เป็นสาเหตุตั้งต้นของปัญหา
ด้านการนอน แต่สำหรับผู้คนในยุคปัจจุบัน ความเครียดอย่างเดียวคงไม่สามารถทำให้เข้าสู่ภาวะนอนไม่หลับเรื้อรังได้
ความเครียด และฮอร์โมนคอร์ติซอล
คอร์ติซอล จัดเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตชั้นนอก
และส่งผ่านไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านกระแสเลือด
เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมา เพื่อตอบสนองต่อสภาวะเครียด
หรือกดดันต่าง ๆ จึงมักเรียกกันว่า “ฮอร์โมนความเครียด”
ทุกครั้งที่เกิดความเครียด "ต่อมหมวกไต" จะผลิตฮอร์โมน
คอร์ติซอลออกมา เพื่อจัดการกับความเครียด แม้หลังจากจบ
เรื่องที่ทำให้เราเครียดไปแล้ว แต่ร่างกายยังมีภาระหน้าที่ในการ
กำจัดฮอร์โมนเหล่านี้ต่อออกไปอีก
เมื่อเราเครียดบ่อยเข้าอาจทำให้ต่อมหมวกไตล้า ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น สุดท้ายก็เริ่มเสื่อม
ร่างกายควบคุมความดันเลือดไม่ได้ เกิดการอักเสบเรื้อรังสะสมใต้ผนังหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของการนำไปสู่โร
หัวใจวายเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก หรืออุดตัน
น้ำหนักไม่ลด เพราะฮอร์โมนไม่สมดุล
ฮอร์โมนเกือบทุกชนิดในร่างกาย มีผลกับระบบเผาผลาญและความอ้วนแทบทั้งนั้น การเสียสมดุลฮอร์โมน ไม่ว่าจะมาก
เกินไปหรือน้อยเกินไป อาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม
ส่วนหนึ่ง ร่วมกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอีกส่วนหนึ่ง
เช่น ความเครียดเรื้อรัง การอดนอน การเสียสมดุลสารอาหาร และวิตามิน การอักเสบติดเชื้อ หรือแม้แต่สารพิษ
สะสมจากสิ่งแวดล้อม ก็ล้วนส่งผลถึงการเผาผลาญ
การใช้พลังงาน ความหิว ความอยากอาหาร การสะสม
ไขมันทั้งในช่องท้อง (Visceral Fat) และนอกช่องท้อง
ซึ่งนำไปสู่ความอ้วนได้ ในทางกลับกัน ความอ้วนเองก็เป็นสาเหตุให้ฮอร์โมนเสียสมดุลได้เช่นกัน (Vicious Cycle)
ทำให้หลายคน น้ำหนักไม่ลด สักที
โรคซึมเศร้า เครียด ป่วยง่าย
โรคซึมเศร้าคือความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมอง
ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ ทำให้พฤติกรรม
ของผู้ป่วยเปลี่ยนไปจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
กลายเป็นคนมองโลกในแง่ลบ เศร้า หม่นหมอง หดหู่
เก็บเนื้อเก็บตัว รู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยสนุกหรือ
สบายใจไม่มีความสุข
โรคซึมเศร้าอาจเกิดจากระดับวิตามินดีที่ต่ำ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ โดยวิตามินดี
จึงถือเป็นฮอร์โมนที่สำคัญตัวหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง นอกจากนี้วิตามินดียังมีหน้าที่
กระตุ้นและยับยั้งเอ็นไซม์ ที่มีส่วนป้องกันความเสียหาย การซ่อมแซม และสร้างเซลล์ประสาทในสมองด้วย ในภาวะขาดวิตามินดี
ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสุขภาพทางอารมณ์ แต่ยังส่งผลถึงความคิดอ่านวามจำ และประสิทธิภาพการทำงาน
5 เรื่องเข้าใจผิดเรื่อง "วัยทอง"
“ร้อนวูบวาบ อารมณ์สวิงบ่อย” ใช่อาการวัยทองหรือเปล่า ? และนอกจากอาการแสดงที่ว่ายังมีอะไรเกี่ยวกับภาวะวัยทอง (Menopause) ที่หลายคนยังไม่รู้อีกบ้าง.. ทำความเข้าใจ 5 เรื่องวัยทองที่หลายคนควรเข้าใจ
อายุมากถึงเป็นวัยทอง ?
การมาของวัยทองขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการผลิตไข่ หรือการทำงานของรังไข่ที่เริ่มเปลี่ยนไป ซึ่งโดยปกติสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในบางคนอาจเกิดขึ้นก่อนโดยไม่ต้องรอให้อายุมากก็ได้เช่นกัน
วัยทองเกิดได้แค่ในผู้หญิง ?
ความจริงคือผู้ชายก็เป็นวัยทองได้ เพราะฮอร์โมนที่เป็นสาเหตุของภาวะวัยทองซึ่งคอยทำหน้าที่กำหนดความหนุ่มสาวในร่างกาย และภาวะวัยทองในผู้ชายก็มีอาการไม่ต่างกับผู้หญิง
วัยทองต้องมีอาการร้อนวูบวาบ ?
อาการร้อนตามตัว เหงื่อออกกว่าปกติ ที่หลายคนเรียกว่าการร้อนวูบวาบในวัยทอง ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับทุกคนเสมอไป แต่จะมีอาการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุ ไลฟ์สไตล์ และสุขภาพส่วนตัวแต่ละคน
พ้นช่วงวัยทองแล้วอารมณ์จะคงที่ ?
หากหมดช่วงวัยทองไปแล้ว อารมณ์ที่เคยแปรปรวนจะกลับมาเป็นปกติได้ แต่ส่วนของสุขภาพด้านอื่นๆ อาจเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องของน้ำหนัก กล้ามเนื้อ และมวลกระดูกต่างๆ จะเริ่มถดถอยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในคนส่วนใหญ่
วัยทองไม่มีสัญญาณเตือน ?
โดยทั่วไปแล้วอาการวัยทองจะมีสัญญาณให้เห็นค่อนข้างชัด ทั้งอารมณ์แปรปรวน เหงื่อออกง่าย นอนหลับยากและอาการปวดเมื่อยต่างๆ โดยเฉพาะสัญญาณประจำเดือนเริ่มมาไม่ปกติในผู้หญิง
การตรวจระดับฮอร์โมนร่างกาย เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อระบบต่างๆ เพื่อปรับฮอร์โมนให้คงความสมดุลไว้ให้ยาวนานที่สุด หรือ เสริมสร้างสมดุลฮอร์โมนให้กลับมาปกติ เพราะนอกจากจะช่วยลดภาวะวัยทองก่อนวัยได้แล้ว ยังเป็นการรักษาประสิทธิภาพการทำงานระบบต่างๆ ทั่วทั้งร่างกายได้อีกด้วย
เลือกสาขาที่ให้บริการ
สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า (ชั้น 3 อาคาร A)
สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์ (ชั้น G ตรงข้าม Lawson)
ใครบ้างควรตรวจฮอร์โมน
บุคคลทั่วไป
บุคคลที่มีอาการไม่พึงประสงค์หรือเหล่าอาการเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ
บุคคลวัยทำงาน 30+
ผู้ที่ต้องการปรับพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ให้มีสุขภาพที่ดี แข็งแรงขึ้นอย่างยั่งยืน
ผู้ที่มีโรคประจำตัว
ต้องการปรับยา ปรับสมดุล
อาหาร และพลังงาน
ภาวะเข้าสู่วัยทอง
เสริมฮอร์โมนทดแทน ปรับสมดุลฮอร์โมนเพื่อการชะลอความเสื่อม
ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา W9 Wellness Center
เรามีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างใส่ใจเเละชัดเจน โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางความใส่ใจ เเละมีส่วนร่วม
ในการดูเเลสุขภาพภายใต้การดูเเลอย่างใกล้ชิด (Personalized Medicine) เเละต่อเนื่องจากสุขภาพที่ดี มีผลมาจากปัจจัย
ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราทั้งหมด ทั้งปัจจัยภายในอย่างสุขภาพกายใจของแต่ละคน และปัจจัยภายนอก เช่น การปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การมีกิจกรรมทางกายและออกกำลังกาย
ที่เหมาะสม ร่วมกับการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีโภชนาการครอบครัว ที่ทำงาน สภาพแวดล้อม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต
นพ. พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ (หมอบาย)
Pijak Wongvisit, MD.
Day : Monday / Wednesday / Friday / Saturday
Time : 9.00 am – 5.00 pm
พญ .ภัทรลดา ฤทธิวงศ์ (หมอไอซ์)
Pattaralada Rittiwong, MD.
Day : Monday / Tuesday / Friday / Sunday
Time : 9.00 am – 5.00 pm
นพ.กฤศ ธิติรังสี (หมอนำ)
Krit Thitirangsi, MD.