ตรวจฮอร์โมนผู้หญิง ต้องตรวจอะไรบ้าง และควรเริ่มตรวจเมื่อไหร่
ฮอร์โมน ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญของร่างกายเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อไหร่ที่ร่างกายหรือฮอร์โมนในร่างกายตัวใดตัวนึง
มีการเสียสมดุล จะส่งผลต่อทุกระบบในร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ เป็นสิวเยอะ อ้วนง่าย ลดน้ำหนักยาก
ระบบเผาผลาญผิดปกติ ซึมเศร้า และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนแล้วแต่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะคุณผู้หญิง
ที่ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ หรือมาไม่สม่ำเสมอ การมาปรับสมดุลฮอร์โมน หรือ ตรวจฮอร์โมนผู้หญิง จึงช่วยให้ระบบต่างๆ
ของร่างกายกลับมาทำงานได้ดียิ่งขึ้น
ฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล เกิดจากอะไร
สำหรับปัจจัยที่ทำฮอร์โมนในเพศหญิงไม่สมดุล ก็มีตั้งแต่เรื่องของ สารอาหาร สารพิษในร่างกาย การที่เราได้รับ
ฮอร์โมนจากสิ่งแวดล้อมโดยที่เราไม่เคยรู้ตัว เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ที่เราไม่เคยรู้ว่าจริงๆ เป็นฮอร์โมน Disruptors
รวมถึงการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์บางตัว เช่น บางคนใช้ยาคุมกำเนิด หรือว่าใช้ฮอร์โมน ก็มีผลที่จะทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลได้
ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราจะเป็นประจำเดือน บางคนก็จะมีอารมณ์ค่อนข้างขี้น้อยใจ หรือว่าอารมณ์เหวี่ยงวีน เซนซิทีฟง่าย
ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล หรือคุณแม่หลังคลอด ก็จะมีปัญหาเรื่อง มาม่าบลู (Mama blues)
หรือ เบบี้บลู (Baby blues) ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของฮอร์โมนไม่สมดุล
เลือกสาขาที่ให้บริการ
สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า (ชั้น 3 อาคาร A)
สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์ (ชั้น G ตรงข้าม Lawson)
ทำไมต้องตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
สำหรับเรื่องของฮอร์โมนกับผู้หญิงเรียกได้ว่าเป็นของคู่กันเลย โดยในแต่ละช่วงวัยก็จะมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน การตรวจ
ฮอร์โมน เป็นการตรวจสมดุลและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เพื่อประเมินความผิดปกติของเหล่าอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น
ก่อนการเกิดโรค ทั้งระบบเผาผลาญ การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การควบคุมอารมณ์ ความเครียด ความรู้สึกทางเพศ
และการเจริญพันธุ์ เพื่อหาแนวทางการปรับให้ฮอร์โมนกลับมาสมดุลอีกครั้ง
-
ช่วงเด็ก-วัยรุ่น จะเริ่มมีปัญหาเรื่องการเป็นสิว การมีประจำเดือน บางครั้งก็เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน
หรือช่วงก่อนมีประจำเดือนจะมีเรื่องของอารมณ์ เรื่องของความเหวี่ยงเกิดขึ้นได้ -
ช่วงของวัยเจริญพันธุ์ ก็จะเกี่ยวข้องกับการที่จะอยากมีบุตร หรือมีบุตรยาก
-
หรือบางคนมีเรื่องของน้ำหนักตัว ระบบเผาผลาญผิดปกติ
ช่วงหลังๆ คนไข้ที่มาปรึกษาเรื่องฮอร์โมนวัยทอง ที่ W9 Wellness เกี่ยวกับเรื่องของการหมดประจำเดือน ถ้าจะหมดประจำเดือน
แล้วเราจะป้องกันอาการในช่วงวัยหมดประจำเดือนยังไงได้บ้าง การมาตรวจฮอร์โมนก็จะช่วยวางแผนได้
อาการสัญญาณเตือนฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล
-
รอบเดือนมาไม่ปกติ
-
นอนไม่ค่อยหลับในเวลากลางคืน แต่กลางวันนอนหลับดี
-
เป็นสิวเยอะ รักษาแล้วไม่หาย
-
มักหลงๆ ลืมๆ
-
ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการรุนแรงก่อนหรือในช่วงมีประจำเดือน
-
เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา
-
เครียดและอารมณ์แปรปรวน
-
หิวบ่อย กินจุ น้ำหนักเพิ่ม ตัวบวม
-
ปวดศีรษะ
-
ช่องคลอดแห้ง ขาดน้ำหล่อลื่น
-
มีความต้องการทางเพศลดลง
-
ช่วงเด็ก-วัยรุ่น จะเริ่มมีปัญหาเรื่องการเป็นสิว การมีประจำเดือน บางครั้งก็เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน
หรือช่วงก่อนมีประจำเดือนจะมีเรื่องของอารมณ์ เรื่องของความเหวี่ยงเกิดขึ้นได้ -
ช่วงของวัยเจริญพันธุ์ ก็จะเกี่ยวข้องกับการที่จะอยากมีบุตร หรือมีบุตรยาก
-
หรือบางคนมีเรื่องของน้ำหนักตัว ระบบเผาผลาญผิดปกติ
ใครที่ควรตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
ในแง่ของทางเวชศาสตร์ชะลอวัยและเวชศาสตร์ป้องกัน สามารถตรวจได้ทุกช่วงอายุขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละวัยเช่น
-
วัยเด็ก อาจจะมีมาตรวจฮอร์โมนด้วยปัญหาพัฒนาการไม่ตรงไปตามวัย อาจจะพัฒนาการช้า ตัวสูงช้า หรือว่ามีการเรียนรู้ที่ช้า มีการเผาผลาญผิดปกติ
-
วัยรุ่น วัยเรียน ก็จะเริ่มมีปัญหา เช่น สิวขึ้นเยอะมากเกินปกติ หรือว่าประจำเดือนมาผิดปกติ มาช้ามาเร็ว อาจจะมีปัญหาในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ หรือพฤติกรรม การโฟกัสการตั้งใจในการเรียนรู้
-
วัยทำงานหรือวัยกลางคน ก็จะ อาจจะมีปัญหาอีกกลุ่มนึง เช่น ปัญหาทางเพศ (Sex Health) ความรู้สึกที่ผิดปกติไป รู้สึกเปลี่ยนไป มีน้อยลง หรือว่ามากขึ้น หรือว่ามีปัญหาเรื่องของมีบุตรยาก รวมถึงจะมีอาการเหนื่อยเพลียมากผิดปกติก็ได้
-
วัยสูงอายุ พอเริ่มอายุเยอะขึ้นในวัยเริ่มใกล้จะหมดประจำเดือนนี้ก็มีปัญหาอีก มีปัญหาเรื่องของฮอร์โมนที่ลดลง ก็จะเร่งความเสื่อม ความแก่ ในฝั่งของ Anti-aging ก็จะมาตรวจดูสมดุลฮอร์โมนแล้วก็ปรับสมดุลฮอร์โมนให้ปกติให้ให้สมดุลดีขึ้น เพื่อจะเพิ่มคุณภาพชีวิต
ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง ต้องตรวจอะไรบ้าง
สำหรับรายการตรวจฮอร์โมนของผู้หญิง หลักๆ ที่แนะนำให้ตรวจ เพื่อดูหาความไม่สมดุลของร่างกาย ได้แก่
-
Estradiol Hormone (E2) เป็นฮอร์โมนส์หลักในกลุ่มฮอร์โมนส์ Estrogen ที่มีความสำคัญด้านการเจริญเติบโต
การปรับเปลี่ยนทางร่างกาย การตกไข่ วงรอบของประจำเดือน หากฮอร์โมนส์ E2 มีความผิดปกติจะส่งผลถึง
วงรอบของประจำเดือน การมีบุตรยาก ไปจนถึงภาวะวัยทอง
-
Sex Hormone Binding Globulin หรือ SHBG มีปริมาณต่ำกว่าปกติ SHBG คือโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่ง
มีหน้าที่ช่วยควบคุมปฏิกิริยาของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่มีต่อร่างกาย ปริมาณ SHBG ที่ต่ำลงจึงส่งผล
ให้ร่างกายผิดปกติจากฮอร์โมนเพศชายที่สูงขึ้น -
DHEAs (Dehydroepiandrosterone sulfate) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่ร่างกายนำมา
ผลิตฮอร์โมนสำคัญๆ หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ อย่าง เทสโทสเทอโรน หรือเอสโตรเจน โดยพบว่าระดับของฮอร์โมน
DHEAs นั้น จะผลิตได้สูงสุดในช่วงอายุประมาณ 25 ปี และจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น -
Cortisol คือ ฮอร์โมนความเครียดตัวหลักของร่างกาย (Stress Hormone) ปกติร่างกายจะหลั่งออกมาปริมาณมากที่สุด
ในตอนเช้า ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นและมีพลังต่อสู้ในวันใหม่ของทุกวัน และจะลดลงเหลือเพียง 10% ในช่วงเย็น -
Parathyroid Hormone (PTH) หรือ พาราทอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่ถูกหลั่งจากต่อมพาราไทรอยด์เป็นโพลีเพปไทด์ซึ่งมี
กรดอะมิโน 84 ตัว ทำหน้าที่ในการเพิ่มระดับความเข้มข้นของแคลเซียมในเลือด ในขณะที่ฮอร์โมนแคลซิโตนิน
(หลั่งจากต่อมไทรอยด์) ทำหน้าที่ลดความเข้มข้นของแคลเซียม -
Testosterone เป็นฮอร์โมนที่พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ในส่วนของเพศหญิงนั้นทำหน้าที่สำคัญคือช่วยสร้างกล้ามเนื้อ
และมวลกระดูก เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง -
Luteinizing hormone: LH เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ฮอร์โมนดังกล่าว
อยู่ในกลุ่มของฮอร์โมนที่เรียกว่าโกนาโดโทรฟิน (Gonadotropin) โดยฮอร์โมนลูทิไนซิงจะทำหน้าที่กระตุ้นอัณฑะในเพศชาย
และรังไข่ในเพศหญิง -
Progesterone คือฮอร์โมนเพศหญิงที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมภาวะไข่ตกและการมีประจำเดือน ในปัจจุบันมีการสังเคราะห์
ฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นเพื่อรักษาผู้หญิงที่ยังไม่เข้าสู่วัยทองแต่มีภาวะประจำเดือนขาดเนื่องจากร่างกายขาดฮอร์โมนดังกล่าว
และยังใช้ควบคู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวจนเกินไปในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน -
Follicle Stimulating Hormone (FSH) คือ ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ เป็นฮอร์โมนที่มีผลโดยตรงต่อวงจรของประจำเดือน หากมีระดับ FSH ต่ำเกินไป (มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของโรค PCOS) หรือสูงเกินไป (อาจพบในผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด) จะสามารถทำให้เป็นผู้มีบุตรยากได้
จริงๆ ผู้หญิงก็ต้องตรวจฮอร์โมนผู้ชาย ส่วนผู้ชายก็ต้อง ตรวจฮอร์โมนผู้หญิง ด้วยเพื่อดูความผิดปกติของฮอร์โมน
ที่ส่งผลต่อร่างกาย
-
เอสโตรเจน (Estrogen) สำหรับผู้หญิงเป็นฮอร์โมนที่สำคัญมาก เพราะเป็นตัวที่ช่วยควบคุมระบบสืบพันธุ์ โดยส่วนมากเมื่ออายุเพิ่มขึ้น การผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง และส่งผลให้เกิดอาการที่เป็นสัญญาณของการเข้าสู่วัยทอง เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก วิงเวียนศีรษะง่าย หรือ หนาวสั่น บางคนที่เป็น Early Menopause ก็เพราะ ฮอร์โมนตัวนี้น้อยเกินไป
-
เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ก็ส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูก กล้ามเนื้อ และอารมณ์ทางเพศของผู้หญิงเช่นเดียวกัน ถ้าผู้หญิงมีเทสโทสเตอโรนมากเกินไป ก็อาจมีปัญหาประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ผิวมัน สิวขึ้น ขนดก ตรวจพบถุงน้ำที่รังไข่
การเตรียมตัวก่อนตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
-
ตรวจร่างกายและซักประวัติโดยแพทย์ เพื่อให้รู้สาเหตุของปัญหาอย่างชัดเจน โดยจะมีการตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต
-
ตรวจเลือดเพื่อค้นหาความผิดปกติของฮอร์โมนต่างๆ เช่น ตรวจโรคความผิดปกติทางฮอร์โมน, ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์, ต่อมหมวกไต, ตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิงและฮอร์โมนเพศชาย, ตรวจสารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศ และตรวจหาระดับโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนเพศ เป็นต้น
ตรวจฮอร์โมนเพศหญิงที่ไหนดี
ที่ W9 Wellness เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการปรับสมดุลฮอร์โมนแบบองค์รวม พร้อมให้คำแนะนำคุณทั้งในด้านการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง รวมถึงการใช้วิตามินเสริม และการใช้ฮอร์โมนทดแทน อย่างปลอดภัย (Bio-identical Hormone Replacement therapy) เพื่อคืนความสมดุลให้แก่สุขภาพคุณ