อยากสุขภาพร่างกายดีต้องเริ่มต้นที่ “ลำไส้”
เมื่อก่อนเราอาจจะคิดว่า ลำไส้ หรือระบบทางเดินอาหารทำหน้าที่แค่ “ย่อย” และดูดซึมสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้เท่านั้น
แต่ปัจจุบันเราพบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ และเซลล์บริเวณผนังลำไส้บางชนิด มีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
ทั้งภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (innate immune) และภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (adaptive immune) นอกจากนี้ เซลล์บางชนิด
ในลำไส้ (enterochromaffin cells) ยังทำหน้าที่สร้าง สารสื่อประสาทที่ชื่อว่า Serotonin กว่า 80% ของทั้งหมดที่ร่างกาย
สร้างได้ซึ่งมากกว่าการผลิตออกมาจากสมองเสียอีก
ในบางรายที่มีภาวะลำไส้แปรปรวน มีท้องผูกสลับท้องเสีย หรือบางคนที่มีอาการปวดท้องเป็นๆ หายๆ ก็จะมีอาการ
ร่วมกับอารมณ์แปรปรวนไปด้วยเช่นกัน เนื่องกระทบต่อการสารเซโรโทนิน ที่ร่างกายเราผลิตได้
เลือกสาขาที่ให้บริการ
สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า (ชั้น 3 อาคาร A)
สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์ (ชั้น G ตรงข้าม Lawson)
อาการและสัญญาณเตือนว่าลำไส้ผิดปกติ
อาการที่หลายๆ คนก็น่าจะรู้อยู่แล้วว่าเกี่ยวข้องกับระบบ
ลำไส้โดยตรง อย่างเช่น เรื่องของท้องอืด ท้องผูกสลับท้องเสีย ท้องเสียเรื้อรัง อย่างนี้เราจะรู้กันอยู่แล้วว่าเกี่ยวเนื่องกับลำไส้ เราก็จะมาหาหมอ แต่ว่ามันก็จะมีอาการที่หลายๆ คนอาจจะไม่ได้กังวลว่า หรือไม่ได้คิดเลยว่ามันจะเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของลำไส้
1. นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท
เมื่อก่อนเราจะรู้กันแค่ว่า “ลำไส้” ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ “ย่อยอาหาร” แต่จริงๆ แล้วลำไส้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนอนด้วย เนื่องจากลำไส้ของเรา สามารถสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าสารเซโรโทนิน (Serotonin) ได้ถึง 80-90%
ของ Serotonin ที่ร่างกายเราสร้างได้ในร่างกาย จึงเปรียบลำไส้เสมือนสมองที่ 2 ของเราได้เลย
2. สิวอักเสบ สิวเรื้อรัง และปัญหาผิวมัน
เพราะ “ลำไส้” และผิวหนังทำงานสัมพันธ์กันใกล้ชิด
ใครก็ตามที่มีปัญหาเรื่องลำไส้ก็จะมีอาการแสดงออกที่สุขภาพผิวได้ด้วย ซึ่งคนที่เป็นสิวอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
ว่า โดยส่วนมากมักมีอาการขับถ่ายไม่ปกติอย่าง ท้องผูก หรือลำไส้อักเสบร่วมด้วย โดยเฉพาะสิวที่เกิดเป็นสิวหัวใหญ่ๆ รอบๆ ปาก และคาง เพราะในบริเวณใบหน้าส่วนของปากและคางนั้นสัมพันธ์กับระบบย่อย มากกว่าสิวบนใบหน้าบริเวณหน้าผาก รอบตา หรือบริเวณจมูก
3.ผื่นแพ้ และภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ไม่ได้หนักหนาสาหัสถึงกับชีวิตเหมือนโรคเรื้อรังอื่นๆ แต่อาจทำให้หลายคนรู้สึกทรมานหรือไม่สบายตัวเอาซะเลย เพราะบางครั้งมันก็ทำให้เราคันมีผื่นแดงขึ้นตามตัว บางครั้งก็มีน้ำมูกไหล คัดจมูก ไอจามได้ทุกเช้าไม่เคยเว้นวันหยุดราชการ บางครั้งก็ตาแดง แสบเคืองตาอยู่เป็นอาทิตย์
ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ อาจเกิดจากลำไส้ของเรานั้นได้สัมผัสกับสารแปลกปลอมที่มาจากอาหารที่เรากินเข้าไป และเกิดปฏิกิริยาก่อให้เกิดอาหารแพ้ขึ้น
4. อาการเครียด และโรคซึมเศร้า
เพราะลำไส้มีความเชื่อมโยงกับอารมณ์ของเรา จากสาร
เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาททางเคมี
ที่ส่งผลต่อการทำงานหลายอย่างของร่างกาย รวมถึงการเคลื่อนไหวของลำไส้ด้วย เพราะกว่า 90% ของสารเซโรโทนินถูกผลิตขึ้นจากระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะเนื้อเยื่อบุในลำไส้เล็กที่มีส่วนอย่างมากในการสร้างสารเซโรโทนินให้
ร่างกาย เมื่อลำไส้เคลื่อนไหวผิดปกติ จุลินทรีย์ในลำไส้
ทำงานไม่สอดประสานกัน ก็ทำให้ระดับของสารเซโรโทนิน
ลดลงจึงส่งผลต่ออารมณ์ของเราได้ ทำให้เกิดความเครียด
วิตกกังวล อยู่ไม่สุข หงุดหงิดโกรธง่าย
5. ท้องผูกเรื้อรัง และสารก่อมะเร็ง
ลักษณะของการขับถ่ายอุจจาระที่บอกได้ว่ามีเกณฑ์
ผิดปกติ คือ เมื่อจำนวนครั้งในการขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร่วมกับลักษณะของอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไป
เช่น ก้อนมีขนาดเล็กลง หรือก้อนแข็งขึ้น เวลาถ่ายต้องออกแรงเบ่งให้หลุด และใช้เวลานานกว่าจะขับถ่ายเสร็จ
เมื่อปล่อยให้เกิดภาวะท้องผูกเรื้อรังไปนานๆ หากคุณมี
ภาวะนี้อาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นริดสีดวงทวาร
หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
เลือกสาขาที่ให้บริการ
สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า (ชั้น 3 อาคาร A)
สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์ (ชั้น G ตรงข้าม Lawson)
แก้ปัญหาลำไส้ด้วย “โพรไบโอติกส์”
รู้หรือไม่ว่าโพรไปโอติกส์มีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลำไส้ให้ดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย
ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ขับถ่ายดี ลดอาการภูมิแพ้ แก้อาการอักเสบ แถมยังมีผลในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และมะเร็งได้อีกด้วย
พูดง่ายๆ ถ้าเราอยากให้ลำไส้เราทำงานดี ขับถ่ายดี ดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ต่างๆ ไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้เต็มประสิทธิภาพ
โพรไปโอติกส์คือหัวใจสำคัญ
โพรไบโอติกส์คืออะไร?
โพรไบโอติกส์ (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต มีหลายร้อยสายพันธุ์ทั้งแบคทีเรีย และยีนส์ เช่น แลคโคบาซิลลัส (Lactobacillus)
ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และแซคคาโรไมซิส (Saccharomyces) ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป มันถูกเรียก
ว่าจุลินทรีย์ชนิดดี มีประโยชน์ในการลดปริมาณจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี ช่วยกำจัดเชื้อโรค และเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
สามารถพบได้ในอาหารหมักดอง เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ ผักดอง ชีส ไวน์ ถั่วเน่า และขนมปังเปรี้ยว เป็นต้น
แต่ในปัจจุบันนั้นนอกเหนือจากอาหารหมักดอง โพรไบโอติกส์ยังมีการผลิตในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เม็ดรับประทาน เม็ดเคี้ยว
ผงสำหรับชง เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ผลิตบางรายได้เติมโพไบโอติกส์ลงในอาหารและน้ำผลไม้อีกด้วย แต่ทั้งนี้การจะทานโพรไบโอติกส์
ให้เห็นผล การตรวจจุลินทรีย์ก่อนเสริมโพรไบโอติกส์ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และได้ประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ในลำไส้มากที่สุด
-
ช่วยให้ร่างกายสร้างวิตามิน K และ B
-
ช่วยย่อยใยอาหารบางชนิดที่ร่างกายย่อยไม่ได้
-
ช่วยเผาผลาญพลังงาน
-
ลดการกักเก็บพลังงานในร่างกาย
-
ช่วยดึงเอาไขมันที่สะสมไว้ในร่างกายมาใช้
-
ลดอาการอักเสบ สาเหตุหนึ่งของความอ้วน
-
ช่วยสมดุลการตอบสนองต่ออินซูลิน
ในร่างกายมนุษย์มีทั้งจุลินทรีย์ตัวดีและจุลินทรีย์ตัวร้าย จุลินทรีย์ตัวดีทำให้สุขภาพแข็งแรง จุลินทรีย์ตัวร้ายก่อโรค
การตรวจจุลินทรีย์ทำให้รู้ว่าร่างกายของเราขาดสมดุลอย่างไร
เลือกสาขาที่ให้บริการ
สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า (ชั้น 3 อาคาร A)
สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์ (ชั้น G ตรงข้าม Lawson)
ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา W9 Wellness Center
เรามีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างใส่ใจเเละชัดเจน โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางความใส่ใจ เเละมีส่วนร่วม
ในการดูเเลสุขภาพภายใต้การดูเเลอย่างใกล้ชิด (Personalized Medicine) เเละต่อเนื่องจากสุขภาพที่ดี มีผลมาจากปัจจัย
ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราทั้งหมด ทั้งปัจจัยภายในอย่างสุขภาพกายใจของแต่ละคน และปัจจัยภายนอก เช่น การปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การมีกิจกรรมทางกายและออกกำลังกาย
ที่เหมาะสม ร่วมกับการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีโภชนาการครอบครัว ที่ทำงาน สภาพแวดล้อม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต
นพ. พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ (หมอบาย)
Pijak Wongvisit, MD.
Day : Monday / Wednesday / Friday / Saturday
Time : 9.00 am – 5.00 pm
พญ .ภัทรลดา ฤทธิวงศ์ (หมอไอซ์)
Pattaralada Rittiwong, MD.
Day : Monday / Tuesday / Friday / Sunday
Time : 9.00 am – 5.00 pm
นพ.กฤศ ธิติรังสี (หมอนำ)
Krit Thitirangsi, MD.
Day : Monday / Wednesday / Thursday /Sunday
Time : 9.00 am – 5.00 pm
เลือกสาขาที่ให้บริการ
สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า (ชั้น 3 อาคาร A)
สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์ (ชั้น G ตรงข้าม Lawson)
คำถามเกี่ยวกับการ "ตรวจจุลินทรีย์" ที่พบบ่อย
ทำไมต้องตรวจจุลินทรีย์จากอุจจาระ
เพราะการตรวจจากอุจจาระจึงทำให้ได้ผลตรง
และมีประสิทธิภาพสูงสุด
มีอาหารประเภทให้บ้างที่ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์
พบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ
การมีโพรไบโอติกส์ที่เพียงพอในลำไส้ช่วยให้
เกิดความสมดุล และลดโอกาสการเกิดโรคได้
ใครบ้างที่ควรตรวจจุลินทรีย์
-
ลำไส้แปรปรวน
-
ผิวหนังอักเสบ สิว
-
ผื่นภูมิแพ้ เป็นๆ หายๆ
-
เบาหวานประเภท 2
-
หอบ หืด
-
ความดันสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
-
ทานอาหารแปรรูปบ่อย
-
โรคอ้วน เผาผลาญบกพร่อง