top of page
หน้าปกนอนไม่หลับ-02-02.png

นอนไม่หลับ นอนหลับยาก อาจเกิดจากปัญหาลำไส้!

การนอนหลับช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ดีขึ้น แต่การนอนไม่พอ ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า นอนกรน
ง่วงซึมมากระหว่างวัน ไม่มีสมาธิระหว่างการทำงาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคความดันเลือดสูง
โรคเบาหวาน ภาวะวิตกกังวล รวมถึงอุบัติเหตุเป็นต้น

ซึ่ง “ลำไส้” ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ “ย่อยอาหาร” แต่จริงๆ แล้วเนี่ย
ลำไส้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนอนด้วย
เมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้ทำงานได้อย่างสมดุล ก็จะทำให้มีการสร้างสารที่ชื่อว่า Short Chain Fatty Acid  หรือไขมันเส้นเล็กๆ มากระตุ้นการทำงานของเซลล์ในลำไส้ซึ่งชื่อว่า EC Cell (Enterochromaffin Cells) โดย EC Cell ก็จะทำงานในการสร้าง
เซลล์ภูมิคุ้มกันแล้วก็เกี่ยวกับสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin)

iStock-1177347461.jpg

อาการ “นอนไม่พอ” อาจเกี่ยวกับ “จุลินทรีย์ในลำไส้”

เมื่อไรที่ร่างกายของเรามีความไม่สมดุลในการทำงานของจุลินทรีย์
ในลำไส้ ก็จะทำให้สารเซโรโทนิน (Serotonin) ทำงานได้ไม่สมดุลได้
เหมือนกัน มีผลทำให้การนอนของเรามีปัญหาได้ อย่างเช่น

  • นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อย

  • หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย

  • รู้สึกอ่อนเพลีย

  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน ตื่นมาไม่สดชื่น

และนอกจากปัญหาการนอนที่ส่งผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารโดยตรงแล้ว ชนิดของอาหาร
เช่น
อาหารประเภทไขมัน แอลกอฮอล์ และการรับประทานอาหารผิดเวลา ล้วนเป็นปัจจัยที่รบกวนสมดุลของจุลินทรีย์
ในระบบทางเดินอาหาร จากการรบกวนนาฬิกาชีวิตของเรานั่นเอง

หน้าปก-03.png
เตียงหรูหรา

นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งประเภทของอาการนอนไม่หลับได้ 3 ประเภท คือ

  1. อาการนอนไม่หลับแบบชั่วคราว คือ การนอนไม่หลับติดต่อกันหลายวัน แต่ไม่ถึงหลายสัปดาห์ ส่วนมากแล้ว
    มักจะเกิดมาจากความเครียด ความกังวลใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วอาการจะดีขึ้นเองในไม่กี่วัน

     

  2. อาการนอนไม่หลับแบบระยะต่อเนื่อง คือการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ทั้งนี้อาจมีปัญหา
    ทางด้านสุขภาพ หรือแม้แต่เครียดมากๆ ต่อปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ คนที่มีอาการเหล่านี้จำเป็นต้องเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื้องรัง

     

  3. อาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง คนกลุ่มนี้จะมีอาการนอนไม่หลับต่อเนื่องเกือบทุกคืน ติดต่อกันหลายเดือน นานจนอาจเป็นปี สาเหตุนั้นจะซับซ้อนมากขึ้น บางกรณีอาจมาจากความผิดปกติทางร่างกาย เช่น การหายใจผิดปกติขณะหลับ กล้ามเนื้อขากระตุกเป็นพักๆ ระหว่างนอน อาการปวดต่างๆ หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจหรือโรคปอด เป็นต้น

การรักษาอาการโรคนอนไม่หลับ ควรตรวจค้นหาสาเหตุที่แท้จริงก่อน ถ้าหากอาการนอนไม่หลับเกิดจากโรคต่าง ๆ
ก็ต้องรักษาโรคเหล่านั้นให้ดีขึ้น ซึ่งควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรนำยามารับประทานเอง

โปรแกรมปรับสมดุลลำไส้แก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ

ศูนย์ W9 Wellness Center อาคาร A ชั้น 3 โรงพยาบาลพระรามเก้า

ปรับลำไส้-02.png
ปรับลำไส้-01.png
bottom of page