top of page
แปรงผมไม้

เส้นผม ถึงแม้ จะเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ แต่ถ้าหากปล่อยให้เกิดมีปัญหาขึ้นมาแล้วล่ะก็ คงเป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่น้อยสำหรับทุกคน

เพราะผมเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพ หน้าตา ให้เราดูสวยหล่อ ก่อให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินชีวิต

ประจำวันทั้งนี้ ปัญหาใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของเส้นผมที่พบได้บ่อยก็คือ ปัญหา ผมบาง และ ผมร่วง

 

ภาวะผมร่วงสามารถพบได้ในวัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ จนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา ซึ่งปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมาก

ที่ต้องประสบปัญหาภาวะผมบาง หรือ ผมร่วง จน ถึงขั้นศีรษะล้าน

Asian man drying his hair after a shower

สาเหตุของภาวะผมร่วง

เกิดได้จากหลายปัจจัย แต่สาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดคือ "ภาวะผมร่วงตามพันธุกรรม" ซึ่งพบได้ทั้งในเพศชายและหญิง
นอกจากนี้ก็ยังมีภาวะอื่นๆ ที่ทําให้ผมร่วงได้อีก เช่น

  • ฮอร์โมนไม่สมดุล

  • ต่อมไธรอยด์ทํางานมากหรือน้อยกว่าปกติ

  • ขาดสารอาหารบางอย่าง

  • โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ หรือเป็นผิวหนังอักเสบรุนแรง

  • แพ้สารเคมีบางชนิด หรือ แพ้แชมพูสระผม

  • ภาวะ Long Covid

  • ปัญหาลำไส้รั่วซึม

สุขภาพลำไส้ส่งผลต่อผมร่วงอย่างไร

ลำไส้ของมนุษย์มีหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือด และสารอาหารนั้นจะถูกขนส่งไปตามอวัยวะต่างๆ

ในร่างกายรวมทั้งรากผมของเราด้วย นอกจากนี้ลำไส้ยังทำหน้าที่คัดกรองสารพิษและเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย

แต่หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับลำไส้จนไม่สามารถดูดซึมสารอาหารหรือคัดกรองสารพิษต่างๆได้ ย่อมทำให้เกิด

ปัญหาต่อร่างกายอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งเราเรียกความผิดปกติแบบนี้ว่า Leaky Gut Syndrome หรือภาวะลำไส้รั่วซึม

ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรากผม จนอาจทำให้เกิดภาวะผมร่วงได้

ลักษณะอาการลำไส้รั่วซึม

ในภาวะปกติเซลล์ของลำไส้จะเรียงตัวชิดกันแน่นแต่ เมื่อไรก็ตามที่ผนังลำไส้ถูกรบกวน จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผนังลำไส้

ส่งผลให้การดูดซึมสารอาหารแย่ลง ผู้ป่วยจึงอาจมี  อาการขาดสารอาหารบางชนิด รวมถึงสารอาหารที่จำเป็นต่อเส้นผมด้วย

ช่องว่างระหว่างผนังลำไส้นี้ ยังทำให้เชื้อโรคและสาร พิษต่างๆที่ปกติไม่สามารถดูดซึมผ่านลำไส้ สามารถผ่านเข้าสู่  กระแสเลือดได้

สารเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นจึงไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงาน ผลที่ตามมาคือเกิดการอักเสบขึ้นทั่วร่างกาย รวมทั้งทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันต่อต้านร่างกายตนเองขึ้นมา

  • ไม่มีแรง เหนื่อยอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ

  • อารมณ์แปรปรวน

  • กินอาหารแล้วรู้สึกเวียนหัวปวดหัว แต่ไม่ถึงกับอาเจียน

  • ท้องผูก ท้องอืด

  • สิวหรือผื่นขึ้น

  • กินแล้วมีอาการไมเกรน

โพรไบโอติกส์ ตัวช่วยปรับสมดุลลำไส้ แก้ปัญหาผมร่วง

เป็นที่รู้กันว่าโพรไบโอติกส์เป็นสุดยอดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องการปรับ
สมดุลของปัญหาลำไส้บางอย่าง แต่ความจริงแล้วโพรไบโอติกส์นั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คิด โดยเฉพาะเรื่อง
ของความงามและสุขภาพเส้นผม หลายคนอาจเข้าใจว่าลำไส้ที่แข็งแรงจากโพรไบโอติกส์คือส่วนที่ช่วยปรับปรุง
สภาพผิวที่มีการอักเสบ แต่ความเป็นจริงแล้วโพรไบโอติกส์ยังสามารถช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ชนิดดี

ทำให้ช่วยลดปัญหาผิวหนังบริเวณศีรษะที่เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการผมร่วงได้อีกด้วย

 

หากท่านใดมีปัญหาผมร่วงอยู่ในขณะนี้ โปรดลองสังเกตตนเองว่าท่านมีภาวะผมร่วงหรือไม่ หรืออาจปรึกษาแพทย์

ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง เพราะการแก้ไขที่ตรงจุดจะทำให้ท่านไม่ต้องกังวลกับปัญหาผมร่วงอีกต่อไป

โปรแกรมปรับสมดุลลำไส้แก้ปัญหาผมร่วง

ศูนย์ W9 Wellness Center อาคาร A ชั้น 3 โรงพยาบาลพระรามเก้า

ปรับลำไส้-02.png
ปรับลำไส้-01.png
LINE_ALBUM_Soft Opening_220116_4.jpg

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา W9 Wellness Center

เรามีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างใส่ใจเเละชัดเจน โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางความใส่ใจ เเละมีส่วนร่วม
ในการดูเเลสุขภาพภายใต้การดูเเลอย่างใกล้ชิด (Personalized Medicine) เเละต่อเนื่องจากสุขภาพที่ดี มีผลมาจากปัจจัย
ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราทั้งหมด ทั้งปัจจัยภายในอย่างสุขภาพกายใจของแต่ละคน และปัจจัยภายนอก เช่น การปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การมีกิจกรรมทางกายและออกกำลังกาย
ที่เหมาะสม ร่วมกับการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
โภชนาการครอบครัว ที่ทำงาน สภาพแวดล้อม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต

นายแพทย์พิจักษณ์-วงศ์วิศิษฎ์-4-1740x2048.jpg

นพ. พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ (หมอบาย)

Pijak Wongvisit, MD.

Day : Monday / Wednesday / Friday / Saturday
Time : 9.00 am – 5.00 pm

พญ-.ภัทรลดา-ฤทธิวงศ์-scaled.jpg

พญ .ภัทรลดา ฤทธิวงศ์ (หมอไอซ์)

Pattaralada Rittiwong, MD.

Day : Monday / Tuesday / Friday / Sunday
Time : 9.00 am – 5.00 pm

หมอนำ (1).jpg

นพ.กฤศ ธิติรังสี (หมอนำ)

Krit Thitirangsi, MD.

Day : Monday / Wednesday / Thursday /Sunday
Time : 9.00 am – 5.00 pm

bottom of page