top of page
สิวอักเสบ สิวเรื้อรัง แก้ได้ที่ลำไส้
ลำไส้กับปัญหาสิวจริงๆ แล้วเกี่ยวข้องกันอย่างไร โดยในทางการแพทย์จากการสังเกตความเชื่อมโยงระหว่างการกำเริบ
ของโรคผิวหนัง และระบบขับถ่าย จึงตั้งสมการว่า อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง เช่น ความเครียดหรือซึมเศร้า ส่งผลกระทบต่อสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ เมื่อผนังลำไส้เสียสมดุล สารพิษจากแบคทีเรียจึงหลุดรั่วเข้ามากระตุ้นการอักเสบ ส่งผลให้โรคผิวหนังที่มีกลไกอักเสบพื้นฐานอย่าง สิว หรือภูมิแพ้ผิวหนังมีอาการแย่ลง
โดยมีงานวิจัยที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งได้นำเลือดของคนเป็นสิว และคนไม่เป็นสิวมาตรวจหาปฏิกิริยาต่อสารพิษของแบคทีเรียถึง 65%
ในขณะที่คนไม่เป็นสิว ไม่พบว่ามีปฏิกิริยาต่อสารพิษของเชื้อแบคทีเรียเลย
สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องสิวอักเสบ ส่วนใหญ่มักมีปัญหาการย่อยอาหาร สายโปรตีนจะย่อยไม่หมด และอาจหลุดรอดเข้าไปใน
กระแสเลือดผ่านผนังลำไส้ที่อักเสบอยู่เข้าไปได้ แน่นอนว่าเซลล์ภูมิต้านทานที่มีอยู่จำนวนมหาศาลในลำไส้ และระบบเลือดจะมองว่าโปรตีนที่ย่อยไม่ละเอียดเหล่านี้เป็นโปรตีนแปลกปลอมของเชื้อโรค ระบบภูมิต้านทานการอักเสบของร่างกายก็จะถูกกระตุ้น
ให้เกิดการอักเสบอยู่เรื่อยๆ หากการอักเสบไปปรากฏที่ผิว ก็เลยมี “สิว” อักเสบกวนใจอยู่ร่ำไป
จุลินทรีย์ตัวจิ๋ว ตัวช่วยจบปัญหาเรื่องสิวๆ
โพรไบโอติก (Probiotic) คือ แบคทีเรียชนิดดีที่อยู่ในร่างกาย
ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ช่วยทำให้ลำไส้แข็งแรง
และอาจช่วยเพิ่มเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ การรับประทานโพรไบโอติก ยังอาจสามารถช่วยรักษาสิวได้ เนื่องจาก
โพรไบโอติกอาจช่วยต้านการอักเสบ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเกิดสิว อย่างไรก็ตาม โพรไบโอติกอาจ
ไม่ได้เหมาะสมสำหรับทุกคน ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับ
ข้อควรระวังให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
โดยมีงานวิจัยของ Robert H. Siver นายแพทย์จากโรงพยาบาล Union Memorial ในเมืองบอลทิมอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งได้ให้คนไข้ที่มีปัญหาสิวจำนวน 300 คนกินโพรไบโอติก 2 ชนิด คือแล็กโทบาซิลลัส แอซิโตฟิลัส (Lactobacillus acidophilus)
กับแล็กโทบาซิลลัส บัลกาลิคัส (Lactobacillus bulgaricus) ผลการทดลองพบว่า 80% ของผู้ที่เป็นสิวมีอาการดีขึ้น อีกงาน
วิจัยหนึ่งที่สอดคล้องกันคืองานวิจัยจากประเทศอิตาลี ที่ให้ผู้ที่เป็นสิวกินโพรไบโอติก ชนิดแอล. แอซิโตฟิลัส (L. acidophilus)
และบี. บิฟิตัม (B. bifidum) ปริมาณ 250 มิลลิกรัม ผลการวิจัยพบว่าคนที่เป็นสิวมีอาการดีขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ที่เป็นแบบนี้
เนื่องจากโพรไบโอติกนั้นช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่งผลต่ออาการอักเสบที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดสิว
เพิ่มโพรไบโอติกส์ในร่างกายได้อย่างไรบ้าง ?
โพรไบโอติกส์นั้นเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของร่างกายที่ช่วยปรับสมดุลสุขภาพ และชะลอวัยได้เป็นอย่างดี นอกจากการดูแลตัวเองเรื่องโภชนาการแล้ว เพื่อให้การชะลอวัยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรหมั่นตรวจวินิจฉัยสุขภาพ ร่วมกับการวิเคราะห์การดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด
อาหารที่มีโพรไบโอติกส์ พบในอาหารที่ผ่านกระบวนการหมัก
-
โยเกิร์ตรสธรรมชาติ (ไม่เติมน้ำตาล)
-
กิมจิ
-
เทมเป้
-
มิโซะ
-
คอมบูชา
นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า พรีไบโอติกส์
เป็นอาหารของโพรไบโอติกส์กระตุ้นการเจริญเติบโตการทำงาน
และส่งเสริมฤทธิ์โพรไบโอติกส์ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งพบได้ใน
-
หน่อไม้ฝรั่ง
-
กล้วย
-
กระเทียม
-
หอมใหญ่
-
มันแกว
-
แก่นตะวัน
โพรไบโอติกส์นั้นเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของร่างกาย ที่ช่วยปรับสมดุลสุขภาพ และชะลอวัยได้เป็นอย่างดี
นอกจากการดูแลตัวเองเรื่องโภชนาการแล้ว เพื่อให้การชะลอวัยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรหมั่นตรวจวินิจฉัย
สุขภาพร่วมกับการวิเคราะห์การดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด
bottom of page